เมนู

คือ อโลภะ เป็นปัจจัยแก่อโทสะ อโมหะ, สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย.
โลภะ เป็นปัจจัยแก่โมหะ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[18] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุธรรม.
2. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุธรรม.
3. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรมและนเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น เพราะ
ปรารภเหตุธรรม.
4. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ 1บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณาซึ่ง
กุศลกรรมนั้น.
บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณา ฯลฯ ผล ฯลฯ
นิพพาน ฯลฯ.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
2พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ละแล้ว ที่เป็นเหตุธรรม,
กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุ-
ธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
บุคคลรู้จิตชอบบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นนเหตุธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกิริยา,
อากิญจัญญายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
1. หมายความว่า บาลีตอนที่ 1, 2. หมายความว่า บาลีตอนที่ 2.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่เจโต-
ปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่อนาคตังส-
ญาณ, แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
5. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

พึงยกเอาเฉพาะข้อความในบาลี ตอนที่ 1 ว่า "บุคคลให้ทาน" เท่า
นั้นมาใส่ในที่นี้ แต่อาวัชชนะ และข้อความที่ว่า "รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ นี้ก็ไม่มี.
6. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรมฯลฯ แล้วพิจารณา
ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น เหตุธรรมทั้งหลายและสัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
พึงยกเอาข้อความทั้งอยู่ในบาลีนั้นมาใส่ที่นี้ ให้เหมือนกับข้อความ
ในบาลีตอนที่ 2.
7. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นเพราะปรารภเหตุธรรมและสัมปยุตต
ขันธ์ทั้งหลาย.
8. เหตุธรรมและนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุธรรม ย่อมเกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุ-
ธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.
9. เหตุธรรมและนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
และนเหตุธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
เพราะปรารภเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.

3. อธิปติปัจจัย


[19] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำเหตุธรรมให้หนักแน่น เหตุธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่